วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว (เด็กหญิงนูรีย์ กูโน)


ประวัติส่วนตัว

ชื่อ เด็กหญิง นูรีย์   กูโน  ชั้นม.๒/๒  เลขที่ ๓๔

เกิดวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓   อายุ ๑๔ ปี

ที่อยู่ ๑๘/๒ หมู่ ๒ ตำบล กรงปินัง  อำเภอ กรงปินัง  จังหวัด ยะลา  ๙๕000

อาหารที่ชอบ  ต้มยำ  ข้าวผัด

เครื่องดื่มที่ชอบ  ชาเย็น น้ำส้ม ไมโล

วิชาที่ชอบ  ภาษไทย ประวัติศาสตร์  คณิตศาสตร์

กีฬาที่ชอบ  แบดมินตัน

เพื่อนสนิท  นูริน   นูรีฮัม  นัสริน นาวีนี  ซารีนา

อนาคตอยากเป็น หมอ

คติประจำใจ หากวันใดพ่ายแพ้สิ่งทดสอบ      คือ  คำตอบว่าเรายังอ่อนล้า อ่อนจิตใจ อ่อนไหว ในศรัทธา

ขอดุอาอ์ให้อัลลอฮทรงชี้ทาง

ประวัติหมู่บ้านลือมุ (เด็กหญิงนูรีย์ กูโน) ครั้งที่ 2


ประวัติหมู่บ้านของฉัน

           ตั้งแต่เล็กจนถึงปัจจุบัน  หนูอาศัยอยู่ในหมู่บ้านลือมุแห่งนี้มานาน  แต่ไม่เคยที่จะสอบถามประวัติของหมูบ้านเลย  จนบางครั้งคิดถึงได้ว่า  คำว่า ลือมุคืออะไร  เลยสอบถามจากคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน  สอบถามไปมา เลยได้ความสั้นๆว่า  ลือเมาะ  แปลว่าท้อแท้นั่นเอง

          ในสมัยก่อนนั้นมีชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้   ได้ประชุมกันเพื่อที่จะสร้างถนนระหว่างหมู่บ้าน  ทุกคนต่างตื่นเต้นกันใหญ่ที่จะได้ถนนหนทางเส้นใหม่  เลยไปประชุมตามที่นัดหมายไว้     แต่สมัยก่อนไม่มียานพาหนะในการเดินทางเลยทำให้ทุกคนที่จะเข้าร่วมประชุม  เกิดความหน่าย  และถนนหนทางที่ลำบาก  ระยะทางก็แสนไกล  จึงทำให้ทุกคนที่ไปประชุมทุกคนต้องเดินด้วยเท้าเปล่า     และชาวบ้านมีความรู้สึกล้าและท้อแท้มากในการเดินทาง และชาวบ้านรู้สึกว่ามันลำบากมากเพราะตัวเองมีภาระครอบครัว  ลูกเล็กแดง  จึงทำให้ทุกคนเกิดไปอยากไปขึ้นมา  เวลาผ่านไปสองสามวัน  ชาวบ้ารู้สึกว่าถ้าเราไม่มีถนนวิ่งเข้ามาในหมู่บ้าน  ทุกคนต้องอยู่แบเดิม  ไม่มีการพัฒนาหนทาง  การค้าขาย  หาเลี้ยงชีพก็ลำบาก  จึงรวมตัวกันเพื่อเข้าร่วมประชุม  ตามนัดหมาย  การประชุมก้อผ่านไปด้วยดี   ต่อมาหลังจากที่ชาวบ้านได้มีการประชุมกันแล้ว   และสร้างถนนกันก็เกิดอาการท้อแท้เช่นเดิม   เพราะถนนสายนี้แต่ก่อนนั้นเป็นเนินเขาสูงมาก จึงทำให้ ท้อแท้    เลยตั้งชื่อหมู่บ้าน ว่า    ลือมุ ซึ่งเป็นชื่อในปัจจุบัน เมื่อในอดีตชื่อ   ลือเมาะ   แปลว่า ท้อแท้ ต่อมาชาวบ้านได้พูดหลายครั้งๆมาจนผิดเพี้ยนไปกลายเป็น ลือมุ ในปัจจุบัน

          หมู่บ้านทุกหมู่บ้านย่อมมีประวัติ  เว้นแต่ว่าเราจะสนใจ  หรือค้นหาความจริงของประวัติหมู่บ้านของเราหรือเปล่า  แต่สิ่งที่ฉันรู้และเข้าใจ  คือการรู้จักประวัติบ่งบอกว่าแต่เดิมคนรุ่นหลังลำบากขนาดไหน  กว่าจะได้ถนนสิ้นนี้ขึ้นมา  จนกลายมาเป็นตามชื่อที่เขาเรียกขานว่า  “ลือมุ”
 
                                                                                  
www.m-culture.in.th/moc_new/album/
 
 


 

ธารโตบ้านเรา (รูปอาจไม่ตรงน่ะค่ะ)


อำเภอธารโต



   เดิมอำเภอธารโตอยู่ในการปกครองของตำบลแม่หวาด อำเภอบันนังสตา ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้จัดตั้งทัณฑ์สถานเพื่อกักขังนักโทษทางการเมืองและนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ที่จัดส่งมาจากทั่วประเทศ และเรียกทัณฑสถานแห่งนี้ว่า "นรกธารโต" ถือเป็นป่าทึบที่ชุกชมไปด้วยไข้ป่าหลบหนีได้ยาก  ต่อมากรมราชทัณฑ์ได้ยกเลิกทัณฑ์สถานแห่งนี้ใน พ.ศ. 2499 เพื่อให้กรมประชาสงเคราะห์จึงได้จัดตั้งนิคมสร้างตนเองธารโตขึ้น และเปลี่ยนทัณฑสถานดังกล่าวเป็นโรงเรียนขึ้นในปี พ.ศ. 2500ปัจจุบันยังมีร่องรอยของคุกปรากฏอยู่ เช่น โรงครัว, โซ่ตรวน และได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์คุกธารโต

   เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ได้มีการแยกเขตการปกครองออกจากอำเภอบันนังสตา จัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอธารโต ขึ้นกับอำเภอบันนังสตา ก่อนจะยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอธารโต เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 อำเภอธารโตแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น ตำบล 37 หมู่บ้าน ได้แก่ ธารโต 7 หมู่บ้าน ,บ้านแหร 11 หมู่บ้าน ,แม่หวาด 12  และ คีรีเขต 7 หมู่บ้าน

แต่เดิมชาวบ้านแต่เก่าก่อนเรียกบริเวณนี้ว่า ไอร์กือดง หรือ ไอร์เยอร์กระดง  เป็นภาษามลายู คำว่า ไอร์ หรือ ไอร์เยอร์ แปลว่า "น้ำ" หรือ "ลำธารใหญ่" ส่วน กือดง หรือ กระดง มีสองความหมายคือ "บริเวณที่ลำน้ำหลายสายไหลมารวมกันเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่" หรือ "พืชมีพิษ" ซึ่งมีมากในแหล่งน้ำดังกล่าว

คำว่า ธารโต มาจากชื่อ เรือนจำกลางภาคธารโต เป็นชื่อที่ทางกรมราชทัณฑ์ตั้งขึ้นตามลักษณะภูมิประเทศ สอดคล้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ เพราะมีลำธารขนาดใหญ่ไหลผ่าน


 
 
 

วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557



ยะหา   ปักษ์ใต้บ้านเรา

          ยะหา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลา อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย อนึ่งคำว่า ยะหา (มาเลย์: Johar, Juar) อันเป็นชื่อ ของอำเภอ เป็นคำในภาษามลายูที่มีความหมายว่า "ต้นขี้เหล็ก"    พื้นที่ของอำเภอยะหาแยกมาจากอำเภอเมืองยะลาในปี พ.ศ. 2481 สมัยหลวงรัชกาลประดิษฐ์ (แปะ) เป็นเจ้าเมืองยะลาและหมื่นเสนานุรักษ์ (ประดิษฐ์ ศุภอักษร)ปลัดเมืองยะลา  ในขณะนั้นได้สำรวจพื้นที่และคัดเลือกตำบลยะหาเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอยะหา เบื้องต้นแบ่งออกเป็น 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลยะหา ตำบลตาชี ตำบลบาโงยซิแน ตำบลสะเอะ ตำบลบาโร๊ะ ตำบลปะแต ตำบลซีเยาะ ตำบลบาโงย ตำบลชะเมาะ และตำบลลาบู




                     ตำบลยะหา อาจจะเป็นอำเภอหนึ่ง ที่ไม่ค่อยมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ หรือเเม้กระทั่งเทคโนโลยี เเต่เมื่อเวลาผ่านไปนับนาน แม้กระทั่งเศรษฐกิจเเละเทคโนโลยี ได้กลับกลายมามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตเรามากขึ้น จนทำให้หมู่บ้านของเรามีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นจนถึงปัจจุบันนี้   ซึ่งส่วนใหญ่เเล้วประชากรในตำบลยะหา จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก เช่น ปลูกยางพารา ยังมีอาชีพรับจ้าง เช่น คนสวนกรีดยางและค้าขาย ทำให้ประชากรมีรายได้มากขึ้น  แม้กระทั่งทางด้านเทคโนโลยีหลายเเห่งหลายสถานที่ที่มีการติดตั้งร้าน อินเตอร์เน็ต จึงง่ายต่อการศึกษาหาข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจจะใช้บริการ โดยส่วนใหญ่เเล้วตำบลยะหามักจะใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และตำบลยะหาประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทย เชื้อสายมลายู นับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก ถึงร้อยละ 93 เเละยังมีประชากรที่นับถือศาสนาพุทธ เป็นจำนวนน้อย อยู่เช่นเดียวกัน ตำบลยะหาเป็นอำเภอหนึ่งที่น่าอยู่ บรรยากาศดี ปลอดภัยจากควันพิษทั้งหลาย  เเละการใช้เครื่องยานพาหนะก็มีไม่มากนัก เลยทำให้ไม่ค่อยมีเสียงรบกวน ดิฉันเริ่มเข้ามาอาศัยตำบลยะหามาเป็นเวลานับนาน 11 ปี เลยทำให้ดิฉันคุ้นเคยกับที่นี้มากขึ้น        

 
   



       ในตำบลยะหาอาจจะมีบางครั้งบางคร่าอาจจะมีสถานการณ์ไม่สงบ เเต่ประชาชนทุกคนก็ไม่เคยเเตกเเยกความสามัคคีกัน อยู่ด้วยกันอย่างมีเหตุมีผล ไม่เอารัดเอาเปรียบ โดยส่วนใหญ่เเล้ว ประชาชนอาจจะไม่ได้รำไม่ได้รวยสักเท่าไหร่ เเต่พวกเราก็อยู่อย่างสันติสุข บนเส้นทางเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักพระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตำบลยะหา   เป็นตำบลเล็กๆตำบลหนึ่ง สถานที่สำคัญก็มีไม่มากนัก เช่น ศาลาดูดวงจันทร์ ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญมากกับชาวมุสลิม หรือเเม้กระทั่งชาวยะหาเอง และตำบลยะหายังมีการรณรงค์ในด้านสุขภาพ มั่นให้ประชาชนทุกคนหันมาใส่ใจในสุขภาพ และการกิน ณ ปัจจุบันนี้
         
  สมัยนี้อะไร ๆ มันก็เปลี่ยนแปลงไปหมด อยากให้เป็นเหมือนแต่ก่อนมากกว่า เพราะชอบบรรยากาศ สดชื่นดี ไม่เหมือนสมัยนี้ อะไรๆก็เปลี่ยนไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การทำลายป่าไม้ การทะเลาะวิวาท การไม่เคารพแก่กัน แต่ ณ ตำบล ยะหา ที่เคยอยู่ ก็ยังเป็นความทรงจำที่ดี ..ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน จะอยู่ที่หนใด   อย่างไรก็ตาม บ้านเกิด คือ บ้านที่ฉันรักมากที่สุด                                                                                                                                   เเหล่งที่มา http://search.hao123.co.th/s?wd=ต้นขี้เหล็ก 
       
                                                                http://contentcenter.prd.go.th

     

จัดทำโดย เด็กหญิงยัซมีน บาฮี ชั้น ม.2/2 เลขที่ 24 (ส่งคร้งที่ 2)