ใบงาน


ใบงานที่ ๑

ใบงานที่ ๑
เรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์
คำชี้แจง
        ๑. ใบงานเรื่อง การเขียนเรียงความเชิงสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้
           เรื่อง การเขียนเรียงความ ในวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มุ่งเน้นผลงานการเขียนเรียงความ
           เชิงสร้างสรรค์ผ่านสื่อเว็บบล็อก
        ๒. ให้นักเรียนอ่านและทำความเข้าใจรายละเอียดในใบงาน และปฏิบัติตามขั้นตอนของการปฏิบัติงานในกิจกรรม
           นี้ให้ละเอียด ครบถ้วน และปฏิบัติโดยเคร่งครัด

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
        ๑. ใบความรู้ที่ ๑  เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับการเขียนเรียงความ
        ๒. ใบความรู้ที่ ๒  เรื่อง เทคนิคการเขียนเรียงความ
        ๓. แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมที่ผู้สอนเตรียมให้ในเว็บบล็อก
        ๔. แหล่งความรู้เพิ่มเติมที่ผู้เรียนสืบค้นเพิ่มเติมด้วย Google

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
        ๑. ให้นักเรียนเขียนเรียงความ โดยการโพสต์ลงในเว็บบล็อกของผู้สอน ที่อยู่เว็บบล็อก คือ
http:// krujindapitak.blogspot.com  โดยให้นักเรียนเลือกขอบข่ายเนื้อหาและกำหนดชื่อเรื่องเรียงความ ให้เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสามจังหวัดชายแดนใต้ (ยะลา ปัตตานี หรือนราธิวาส) โดยใช้ขอบข่ายเนื้อหาในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ดังนี้
            - วิถีชีวิตหรือการประกอบอาชีพ
            ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หรือตำนาน เรื่องเล่า
            ประเพณี หรือศิลปวัฒนธรรม
            - โบราณสถาน โบราณวัตถุ
            แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
            โดยเลือกเขียนเรียงความเพียงเรื่องเดียว จากขอบข่ายหัวเรื่อง เช่น  กำหนดชื่อเรื่อง
            “มัสยิดกรือเซะ แหล่งท่องเที่ยวศาสนสถานคู่เมืองปัตตานี”
            “น้ำตกทรายขาว แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติชายแดนใต้
            ฯลฯ
        ๒.  ส่วนประกอบของเรียงความ ต้องประกอบด้วย ส่วนนำ เนื้อหา สรุป ตามหลักการเขียนเรียงความ
ที่ดี และต้องตรวจสอบการใช้คำให้ถูกต้อง
        ๓.  ส่วนประกอบของ บทนำ เนื้อหา สรุป สามารถ แทรกภาพ วีดิทัศน์ หรือลิงก์ ที่เกี่ยวข้องและจัดวาง         ให้เหมาะสมและสวยงามได้
        ๔. ในส่วนท้าย (ต่อจากสรุป) ให้แสดงแหล่งอ้างอิงหรือแหล่งค้นคว้าที่มาของข้อมูลหรือภาพที่ศึกษามา          
ดังตัวอย่าง
·       แหล่งอ้างอิง
o   ประวัติมัสยิดกรือเซะ – http://th.wikipedia.org/มัสยิดกรือเซะ
        ๕. การโพสต์เรียงความ ให้นักเรียนกำหนด ป้ายกำกับ (Tag) ประกอบด้วยคำสำคัญแยกเป็นจังหวัด ได้แก่ ยะลา หรือ ปัตตานี หรือ นราธิวาส  และแยกเป็นประเด็นของเรื่องเรียงความ เช่น วิถีชีวิต  แหล่งท่องเที่ยว  ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน โบราณวัตถุ  (สามารถมีมากกว่า ป้ายกำกับได้ในแต่ละเรื่อง)
        ๖. เมื่อผู้สอนตรวจประเมินผลงานเรียงความแต่ละครั้งแล้ว ให้ผู้เรียนปรับแก้ตามข้อเสนอแนะของผู้สอนภายใน ๑ สัปดาห์ (ให้พิจารณาคะแนนและข้อเสนอแนะของผู้สอนที่เสนอไว้ต่อท้ายเรียงความ)
        ๗. กรณีมีปัญหาให้สอบถามผู้สอนผ่านอีเมลคือ  jinjinpitak@gmail.com  หรือ Facebook ของรายวิชา
กำหนดส่งและตรวจประเมินผลงาน (อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม)
        ครั้งที่ ๑  ภายในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗  เวลา ๒๔.๐๐ น.
        ครั้งที่ ๒  ภายในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗  เวลา ๒๔.๐๐ น. (ปรับตามข้อแนะนำของผู้สอนครั้งที่ ๑)
        ครั้งที่ ๓  ภายในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๒๔.๐๐ น. (ปรับตามข้อแนะนำของผู้สอนครั้งที่ ๒)

เกณฑ์การประเมินคะแนน (คะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน)
ประเด็น
การประเมิน
(องค์ประกอบ)
เกณฑ์การให้คะแนน
๑. ชื่อเรื่อง           และการวาง        โครงเรื่อง       
ชื่อเรื่องไม่          เหมาะสม        และวางโครงเรื่อง
ไม่เหมาะสม
ชื่อเรื่องพอใช้ 
และวางโครงเรื่อง ไม่เหมาะสม
ชื่อเรื่องดี และวางโครงเรื่องพอใช้
ชื่อเรื่องเหมาะสม  และวางโครงเรื่องได้ดี
ชื่อเรื่องเหมาะสมและวางโครงเรื่องได้ดีมาก
๒. การเขียนคำนำ
คำนำมาก หรือน้อยเกินไป
มีคำนำ แต่ไม่มีเอกภาพ
มีคำนำ มีเอกภาพพอสมควร
มีคำนำ มีเอกภาพเหมาะสมดี 
มีคำนำ มีเอกภาพดีมาก
๓. การเสนอ
   เนื้อเรื่อง
เนื้อหาไม่น่าสนใจ และไม่เป็นลำดับและไม่สมบูรณ์
เนื้อหาน่าสนใจ 
นำเสนอเรื่องไม่เป็นลำดับ และไม่สมบูรณ์
เนื้อหาน่าสนใจ 
นำเสนอเรื่องได้ดี แต่เนื้อหาไม่ครบถ้วน ไม่สมบูรณ์
เนื้อหาน่าสนใจ 
นำเสนอเรื่องได้ดี เนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ดี
เนื้อหาน่าสนใจ 
นำเสนอเรื่องได้ดี เนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ดีมาก
๔. การสรุปเรื่อง
ไม่มีส่วนสรุปเรื่อง
มีส่วนสรุปเรื่อง 
แต่ไม่สอดคล้องกับเนื้อหา
มีส่วนสรุปเรื่อง สอดคล้องกับเนื้อหาน้อย
มีส่วนสรุปเรื่อง สอดคล้องกับเนื้อหาดี
มีส่วนสรุปเรื่อง สอดคล้องกับเนื้อหาดีมาก
๕. การใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาเหมาะสมกับ
   เนื้อเรื่อง
ภาษาที่ใช้มีภาษาพูดจำนวนมาก และมีคำผิดจำนวนมากและไม่สละสลวย
ภาษาที่ใช้มีภาษาพูดแทรกอยู่ด้วย และมีคำผิดอยู่บ้างและไม่สละสลวย
ภาษาที่ใช้มีสำนวนโวหารบรรยาย 
แต่ยังไม่น่าสนใจ 
มีคำผิดอยู่บ้าง
ภาษาที่ใช้มีสำนวนโวหารบรรยายพรรณาได้อย่างน่าสนใจ
มีคำผิดน้อยมาก
ภาษาที่ใช้มีสำนวนโวหารบรรยาย พรรณาได้
อย่างน่าสนใจมาก ไม่มีคำผิด
๖. การมีเอกภาพ สัมพันธภาพ ของเรื่องมีภาพ      หรือวีดิทัศน์ที่ใช้สัมพันธ์กับเนื้อหา
ไม่มีเอกภาพ ไม่มีสัมพันธภาพ
ไม่มีเอกภาพ ไม่มีสัมพันธภาพ 
แต่มีภาพหรือวีดิโอแทรกในเรียงความ
ย่อหน้ามีเอกภาพ มีสัมพันธ์ภาพ
อยู่บ้าง มีภาพ 
หรือวีดีโอแทรก
ในเรียงความ
ย่อหน้ามีเอกภาพ มีสัมพันธ์ภาพดี
มีภาพหรือวีดีโอแทรกในเรียงความเหมาะสมกับเนื้อหา
มีเอกภาพ
มีสัมพันธ์ภาพดี
มีภาพหรือวีดีโอแทรกในเรียงความเหมาะสมกับเนื้อหาดีมาก  
และน่าสนใจมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น