วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิถีชุมชนคนกำปงบือแน


 หมู่บ้านบือแนตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 4063หมู่ที่ 4ตำบลบุดี อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา มีครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 186 หลังคาเรือนโดยมีประชากรทั้งหมด ประมาณ 828คน บือแนเป็นภาษามาลายูแปลว่า นาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนากว้าง  เพราะตามประวัติความเป็นมาแล้ว คนเฒ่าคนแก่เล่าต่อกันมาว่า ในอดีตชาวบ้านจะประกอบอาชีพทำนา มีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับนาเป็นส่วนใหญ่ และในบริเวณหมู่บ้านจะมีพื้นที่เป็นนาอยู่รอบๆ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับหมู่บ้าน  และเมื่อมีการเดินทางผ่านมาทางถนนทางหลวงแผ่นดิน ( สายยะลา- รามัน) จะเห็นท้องทุ่งนากว้างริมทาง ทำให้ชาวบ้านเรียกชุมชนนี้ว่า  กำปงบือแน มาจนถึงทุกวันนี้
          หมู่บ้านบือแน หรือ กำปงบือแน เป็นชื่อที่ชาวบ้านกัน  ซึ่งคำว่า กำปงเป็นภาษามลายู  หมายถึง หมู่บ้าน มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขา เป็นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปลูกข้าว ในทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่เชิงเขาเหมาะแก่การปลูกยางพาราและสวนผลไม้ ซึ่งชาวบ้านนิยมปลูกทุเรียน ลองกอง เงาะ และมังคุด  เป็นต้น  สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนในแต่ละปีได้พอสมควรนอกจากนี้หมู่บ้านของหนูยังมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ คลองฆูเราะห์  ซึ่งชาวบ้านในอดีตจะให้ความสำคัญแก่คลองแห่งนี้เป็นอย่างมาก ชาวบ้านจะใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรและทำนา เป็นแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ดังสุภาษิตที่ว่าในน้ำมีปลา ในนามีข้าว  แต่ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สภาวะโลกร้อน  อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง  ฝนตกไม่ตามฤดู ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านเป็นอย่างมาก  แหล่งน้ำที่ชาวบ้านนิยมใช้น้ำบ่อและน้ำประปาภูเขาในการอุปโภคบริโภคเริ่มลดน้อยลงทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาวบ้านที่ต้องใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน การบริหารจัดการน้ำยังไม่ดีเท่าที่ควรและครอบคลุมทุกควรเรือน  ทำให้ชาวบ้านบางส่วนซื้อน้ำมาบริโภคเองเพราะเป็นที่อีกทางเลือกหนึ่งเพื่อความสะดวกในการดำเนินชีวิตในยุคนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นิยมทำนา  และทำสวนยาง  ทั้งเป็นเจ้าของสวนยางเอง  และรับจ้างตัดยางของเพื่อนบ้านในละแวกเดียวกัน โดยการทำยางก้อนมีรายได้พอกินพอใช้ นอกจากอาชีพที่ได้กล่าวมาแล้วก็ยังมีการทำสวนผลไม้ตามฤดูการ เช่น ทุเรียน ลองกอง มังคุด เงาะ เป็นต้น สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นกอบเป็นกำ และการปลูกพืชตามฤดูกาลหรือพืชอายุสั้น เช่น แตงโม แตงไท แตงกวา ผักบุ้ง ผักกาด พริก เป็นต้น ไว้บริโภคในครัวเรือนเอง  ทำให้ชาวบ้านได้บริโภคผักปลอดสารผิด  ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และยังสามารถนำไปขายในตลาดชุมชนได้  หรือนำไปแจกจ่ายกันในละแวกเพื่อนบ้าน  เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในหมู่บ้าน  ใครมีอะไรก็แบ่งปันกัน  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน  สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะสร้างชุมชนให้เข็มแข็งได้

ชาวบ้านทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลามร้อยเปอร์เซ็นต์ภาษาที่ใช้สื่อสารกัน คือภาษามลายูถิ่น  และชาวบ้านก็ยังสามารถพูดภาษาไทยได้  เพื่อใช้ติดต่อกับทางราชการ  การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นรูปแบบสังคมชนบทกึ่งเมือง คือนิยมอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเครือญาติ มีทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย  มีความผูกพันกันทางภาษา  ศาสนา  ประเพณี  และวัฒนธรรมโดยมีมัสยิดดารุลนาอีมเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของคนในชุมชนนี้ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายหลักหัวสะพานฆูเราะห์ถือเป็นความสะดวกของบุคคลภายนอกที่เดินทางผ่านที่จะแวะทำศาสนกิจ นอกจากนี้ยังมีประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น เช่นวันฮารีรายอ  ซึ่งเป็นวันที่รวมตัวของเครือญาติ  มีการแบ่งปันอาหารให้ซึ่งกันและกัน  ประเพณีการกวนอาซูรอ  ซึ่งเป็นประเพณีการทำขนมในอดีต  ใครมีสิ่งของอะไรก็เอาออกมารวมกันใส่หม้อ  แล้วร่วมกันกวนขนมจนเสร็จ  ซึ่งสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับคนในชุมชนได้


ภาพที่ 1 ประเพณีการกวนขนมอาชูรอ  และการละเล่นดีเกฮูลู
ที่มา:http://www.komchadluek.net/(รู้มาเล่าไป : กำจัดแมลงศัตรูพืชในนาข้าว : โดย   ดลมนัสกาเจ)
                    แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  และกำปงบือแนเองก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ แต่ชาวบ้านก็ยังดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย  มีความสามัคคี  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน   มีผู้นำชุมชนที่เข็มแข็ง  ชาวบ้านให้ความร่วมมือกันเมื่อมีการจัดกิจกรรมต่างๆ   แม้ว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า  แต่วิถีชีวิตของชาวบ้านก็ไม่ได้เปลี่ยนตามกระแสนิยม  ยังคงดำรงชีวิตอย่างพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้หมู่บ้านแห่งนี้อยู่เย็นเป็นสุขมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มาของข้อมูล: ผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านบือแน  หมู่ 4 ตำบลบุดี  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา

จัดทำโดย: เด็กหญิงฟาเดีย  มะดีเย๊าะ ชั้นม.๒/๒ เลขที่๓๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น