วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สะเตง(นอก)

เรียงความเรื่อง ประวัติสะเตง(นอก)
             เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ยะลาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองปัตตานี ในรัชสมัยราชกาล ที่๕ ได้มีการปรับปรุงการปกครองแบส่วนภูมิภาคมาเป็นแบบเทศาภิบาล และได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับการปกครอง ๗ หัวเมือง ประกอบด้วยเมือง ปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และเมืองรามัน  ซึ่งในแต่ละเมืองมีพะยาเมืองเป็นผู้ข้าราชกาล โดยอยู่ในการดูแลของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช แต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็น อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
 
            เทศบาลนครยะลา ได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2479 ตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งเทศบาลเมืองยะลา พ.ศ.2479 มีพื้นที่ประมาณ 16 ตารางกิโลเมตร มีสำนักงานตั้งอยู่ที่หมู่บ้านสะเตง อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดยะลาเดิม ต่อมาได้ย้ายมาที่โรงเรียนซึ่งได้ก่อสร้างใหม่ใกล้ถนนสุขยางค์ (ปัจจุบันคือศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา) และต่อมาในปี 2509 ได้มีการเปลี่ยนแปลงขยายเขตเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกาให้เปลี่ยนเขตเทศบาลนครยะลา พ.ศ.2509 ให้ขยายเขตเทศบาลออกไปอีกเป็น 19 ตารางกิโลเมตร และได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลนครยะลา เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2538
 
สภาพทั่วไปของตำบล เทศบาลนครยะลาตั้งอยู่ที่ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อยู่บริเวณตอนเหนือของจังหวัด มีพื้นที่ประมาณ 19 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางรถไฟสายใต้ประมาณ 1,039 กิโลเมตร ตามถนนเพชรเกษมสายเก่า 1,395 กิโลเมตร และสายใหม่ 1,084 กิโลเมตร  ประกอบด้วย 13หมู่บ้าน ได้แก่  บ้านเบอร์เซ้ง บ้านมลายูบางกอก  บ้านเปาะยานิ   บ้านนัดโต๊ะมง  บ้านบาโงยบาแด   บ้านพงบูโล๊ะ   บ้านนิบงบารู  บ้านกำปงบูเก๊ะ   บ้านตือแลแมะ บ้านตือเบาะ   บ้านกำปงตือเงาะ   บ้านราโจ๊ะ   บ้านปรามะ  

อาณาเขตตำบล  ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา และอำเภอยะรัง
จังหวัดปัตตานี
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
การเมืองการบริหาร   ฝ่ายบริหาร มี 5 คน ฝ่ายนิติบัญญัติ  มี  12  คน  บริหารในรูปแบบของสภาเทศบาล
จำนวนประชากรของตำบล
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 76,853 คน เป็นชาย 37,818 คน เป็นหญิง 39,035 คน
การศสานา ส่วนใหญ่นับถือศสานาอิสลาม ลองลงมานับถือศสานาพุธทและอื่นๆ มีมัสยิ 21 แห่ง วัด 3แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง ศาลเจ้า 2 แห่ง
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ได้แก่ ค้าขาย ธุรกิจ รับจ้าง รับราชการ เกษตรกรรม
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. ศาลหลักเมือง
2. สนามโรงพิธีช้างเผือก
3. สวนขวัญเมือง (พรุบาโกย)
4. ผังเมืองรวม
5. มัสยิดกลาง
 
       ตำบลสะเตงนอก เป็น 1 ใน 13 ของเมืองยะลา โดยมีพื้นที่ตั้งอยู่ในยะลาพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มส่วนใหญ่ มีภูเขาบ้าง  เดิมพื้นที่ของจังหวัดยะลา มีชื่อเรียกว่า สะเตง  จึงมีพื้นที่กว้างใหญ่มากยากแก่การปกครอง  ทางราชการจึงแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน ส่วนที่อยู่วงข้างใน มีชื่อเรียกว่า สะเตง  ส่วนพื้นที่ที่แบ่งออกจากสะเตงที่อยู่วงนอก มีชื่อเรียกว่า สะเตงนอก
 
แหล่งอ้างอิง

2 ความคิดเห็น:

  1. อาจารย์ ค่ะ คือ หนูลืมเขียนชื่อลง ไป
    ขอแก้ตัวน่ะค่ะ ชื่อ เด็กหญิง ฮัซวานีย์ สาเเลมิง ชั้น ม2/2 เลขที่ 6ค่ะ

    ตอบลบ
  2. ถึงฮัซวานี สาและมิง
    ครูตรวจงานแล้วนะครับ ครั้งที่ ๑ คะแนน ๑๐ คะแนน ได้ ๖ คะแนนครับ
    ครูขอเป็นกำลังใจให้ในการปรับปรุงเรียงความให้สมบูรณ์นะครับ ดังนี้
    ๑.เขียนเรียงความให้เป็นเอกภาพมากยิ่งขึ้นโดยการเชื่อมคำ
    ๒ จัดข้อความให้น่าสนใจ
    ๓. การสรุปน่าจะสรุปให้ดีกว่านี้ ใช้คำคมบ้างก็ได้

    ตอบลบ