วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่2

ยะลา ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดนใต้
"ยะลา” มาจากภาษาพื้นเมืองเดิมว่า "ยะลอ" ซึ่งแปลว่า "แห" เพราะสถานที่ตั้งเมืองเดิมคือ บ้านยะลอ (ตำบลยะลอในปัจจุบัน) ต่อมาได้มีการย้ายมาตั้งเมืองใหม่หลายครั้ง ในที่สุดมาตั้งที่บ้านนิบงตำบลสะเตง ตราบเท่าทุกวันนี้ ดินแดนอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดยะลาในปัจจุบันแต่เดิมจะเป็นท้องที่ในบริเวณหนึ่งของเมืองปัตตานี ซึ่งในปลายปีพ.ศ. 2475 ได้ประกาศยกเลิกมณฑลปัตตานี และได้มีการปรับปรุงการปกครองหัวเมืองตามพระราช อาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 จัดบริหารราชการส่วน จัดบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอมีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร จังหวัดยะลาจึงเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยสืบต่อมาจนทุกวันนี้

ยะลาเป็นจังหวัดที่เทศบาลมีการจัดวางผังเมืองแบบใยแมงมุมที่สวยที่สุดของประเทศไทย และได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดความสะอาด 3 ปีซ้อนระหว่าง พ.ศ. 2528-2530 และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครยะลา ในปี พ.ศ. 2538 ในปี พ.ศ. 2540 ได้รับการคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นเป็น 1 ใน 5 เมืองของประเทศไทย

และประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูถึงร้อยละ 66.1 นอกจากนั้นก็จะมีชาวไทยพุทธ, ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวซาไก ซึ่งตั้งถิ่นฐานในเขตหมู่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ได้อพยพไปอยู่ในมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกับเหตุผลด้านความไม่สงบ

ยะลายังมีความน่าสนใจตรงที่เป็นจังหวัดที่ผสมผสานวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ ไทยมุสลิม และชาวไทยจีน ไว้ด้วยกันได้อย่างน่าทึ่ง ลักษณะบ้านเรือนและวิถีความเชื่อที่แตกต่างนั้น ทำให้ยะลาเป็นจุดหมายที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักท่องเที่ยวที่รักการเรียนรู้เรื่องราวของผู้คน
   
ยะลาเป็นหมู่บ้านที่ได้รับการก่อตั้งมาเป็นเวลายาวนานจนถึง ปัจจุบัน เเต่ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนบ้าน หรือคนในชุมชน ก็ไม่เคยที่ทิ้งกัน เป็นเพราะว่าจังหวัดยะลา มีความรักซึ่งกันเเละกันเลยทำให้จังหวัดยะลา มีความสงบ สันติสุข ตลอดไป

vudgpvtws,g,ktsN

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น