วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียงความครั้งที่ 2




            เมืองนรา อบอุ่น ด้วยความรักใคร่
     
             จังหวัดนราธิวาส เป็นจังหวัดชายแดน  ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลด้านตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 1149 กิโลเมตร  และทางรถไฟ ประมาณ 1116  กิโลเมตร  สุดชายแดนไทย-มาเลเซีย  ที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก     
         นราธิวาสเดิมชื่อ มะนาลอเป็นหมู่บ้านขึ้นอยู่กับเมืองสายบุรี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เมืองนราธิวาส"บางนรา"ขึ้นอยู่กับเมืองสายบุรี ซึ่งเป็นเมือง ๆ หนึ่งในบริเวณ 7 หัวเมือง ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับเมืองระแงะซึ่งเป็นหนึ่งในบริเวณ7หัวเมืองเช่นกันดังนั้นการที่จะทราบถึงประวัติความเป็นมาของเมืองนราธิวาสจะต้องกล่าวถึงเรื่องราวของเมืองปัตตานี เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ ซึ่งเป็นบริเวณหัวเมือง เป็นลำดับติดต่อกันไปแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกทัพหลวงลงมาปักษ์ใต้เพื่อปราบปรามข้าศึกที่จะยกมายังพระราชอาณาเขตทางใต้ เมื่อข้าศึกแตกพ่ายหนีไปหมดแล้ว จึงได้เสด็จไปประทับ ณ เมืองสงขลาและได้มีรับสั่งออกไปถึงหัวเมืองมลายูทั้งหลาย ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นกับกรุงศรีอยุธยามาก่อนให้มาอ่อนน้อมเหมือนดังเดิม พระยาไทรบุรี พระยาตรังกานูยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี แต่พระยาปัตตานีตั้งแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อม จึงได้รับสั่งให้ยกกองทัพลงไปตีเมืองปัตตานีเมื่อ พ..2332 เมื่อได้เมืองปัตตานีแล้ว ก็โปรดเกล้าให้พระราชทานตราตั้งให้พระยาสงขลา (บุญฮุย)เป็นพระยาปัตตานีและให้อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลาต่อไปและตั้งให้เป็นเมืองมนตรีขึ้นอยู่กับกรุงรัตนโกสินทร์โดยตรง ในระหว่างที่พระยาปัตตานี (ขวัญซ้ายว่าราชการเมืองปัตตานีอยู่นั้นบ้านเมืองสงบเรียบร้อยเป็นปกติสุขตลอดมา ครั้นต่อมาเมื่อพระยาปัตตานีถึงแก่กรรมลง โปรดเกล้าให้นายพ่ายน้องชายพระยาหลวงสวัสดิภักดีผู้ช่วยราชการเมืองปัตตานีและได้ย้ายที่ว่าการเมืองปัตตานีจากบ้านมะนา (อ่าวนาเกลือไปตั้งที่บ้านยามู ในระหว่างนั้นพวกซาเห็ดรัตนาวงศ์ฯ และพวกโมเซฟได้เริ่มก่อกวนความสงบสุขของบ้านเมือง โดยคบคิดกันเข้าปล้นบ้านพระยาปัตตานีและบ้านหลวงสวัสดิภักดี แต่ก็ได้ถูกตีถอยหนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่ตำบลบ้านกะลาพอ เขตเมืองสายบุรีนอกจากนั้นเมืองปัตตานีมีอาณาเขตกว้างขวางและมีโจรร้ายปล้นบ้านเรือนราษฎรชุกชุมยิ่งขึ้น จนเหลือกำลังที่พระยาปัตตานีจะปราบให้สงบราบคาบได้ จึงแจ้งข้อราชการไปยังเมืองสงขลา พระยาสงขลา(เถี้ยนจ๋อง)ออกมาปราบปรามและจัดวางนโยบายแบ่งแยกเมืองปัตตานีออกเป็น 7 หัวเมือง เมื่อ พ.. 2353 แล้วทูลเกล้าถวายรายชื่อเมืองที่แยกออกไปดังนี้ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองยะลา เมืองรามัน เมืองระแงะ เมืองสายบุรี และเมืองยะหริ่ง ต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระยาปัตตานี(ตวนสุหลงพระยาหนองจิก (ตวนกะจิพระยายะลา (ตวนบางกอกพระยาระแงะ(หนิเดะเจ้าเมืองทั้ง 4 ได้สมคบร่วมคิดกันเป็นกบฏขึ้นในแผ่นดิน จึงโปรดเกล้าให้พระยาเพชรบุรีและพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้งลงมาปราบ และพิจารณาเห็นว่าหนิบอสู ชาวบ้านบางปู ซึ่งพระยายะหริ่งแต่งตั้งให้เป็นกรมการเมืองยะหริ่ง ได้เป็นกำลังสำคัญ และได้ทำการสู้รบด้วยความกล้าหาญยิ่ง ด้วยคุณงามความดีอันนี้ จึงได้แต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการเมืองระแงะ สืบต่อจากพระยาระแงะ (หนิเดะที่หนีไป และได้ย้ายที่ว่าราชการจากบ้านระแงะมาตั้งใหม่ ณ ตำบลตันหยงมัส (ซึ่งเป็นอำเภอ ระแงะในปัจจุบัน)
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ยกเลิกการปกครองแบบเก่า เพราะการแบ่งเขตแขวงการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการในหัวเมืองทั้ง ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อเสด็จมาถึงเมืองบางนรา ทรงพระราชทานพระแสงราชศัสตราแก่เมืองบางนรา และทรงดำริเห็นว่าบางนรานั้นเป็นชื่อตำบลบ้านและควรที่จะมีชื่อเมืองไว้เป็นหลักฐานสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น ยังก้าวก่ายกันอยู่หลายอย่าง จึงได้วางระเบียบแบบแผนการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการให้เป็นระเบียบตามควรแก่กาลสมัยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมพ..2444 ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.. 2449 มีประกาศพระบรมราชโองการให้แยกบริเวณ 7 หัวเมือง ออกมาจากมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า "มณฑลปัตตานีเพื่อให้สะดวกแก่ราชการ และทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนในปี พ.. 2458 ได้ย้ายที่ว่าราชการจากเมืองระแงะ ตำบลตันหยงมัส มาตั้งที่บ้านมะนาลอ (บางมะนาวปัจจุบันอำเภอบางนรา ส่วนท้องที่เมืองระแงะ และยกฐานะอำเภอบางนราขึ้นเป็นเมืองบางนรา มีอำเภอในเขตปกครองคืออำเภอบางนรา อำเภอตันหยงมัส กิ่งอำเภอยะบะ อำเภอสุไหงปาดี กิ่งอำเภอโต๊ะโมะ "เมืองนราธิวาสเมื่อวันที่10 มิถุนายน พ.. 2458 (นร+อธิวาส แปลว่า ที่อยู่ของคนดีในปี พ.. 2476 ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคครั้งใหญ่และให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัด เมืองนราธิวาสจึงเปลี่ยนมาเป็น "จังหวัดนราธิวาสดังเช่นปัจจุบัน

 


              ถึงแม้ในอดีตจะเกิดเรื่องอะไรต่างๆมากมาย แต่เมืองนราธิวาสในปัจจุบัน เป็นเมืองที่สวย มีสถานที่เที่ยวสวยๆ เช่น หาดนราทัศน์ เสือสระแก้ว อ่าวมะนาว เป็นต้น ผู้คนรักใคร่กัน ใครว่างๆ ก็สามารถไปเที่ยวเมืองมะนาลอ หรือ นราธิวาสในปัจจุบันได้น่ะค่ะ

              แหล่งข้อมูล : http://www.l3nr.org/posts/312237
                                    http://nwt.onab.go.th/index.php?
                                    https://www.google.co.th/search?q=เมืองนราธิวาส&source
            
            จัดทำโดย : เด็กหญิงอามีมี ยีมะยี ม.2/2 เลขที่ 33



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น