วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


บ้านบือแน "หมู่บ้านน่าอยู่"
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านบือแน
ชุมชนบ้านบือแนบือแนเป็นภาษามาลายูแปลว่า นา และในหมู่บ้านบือแนนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนากว้าง  ในอดีตชาวบ้านจะประกอบอาชีพทำนา มีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับนาเป็นส่วนใหญ่ และในบริเวณหมู่บ้านจะมีพื้นที่เป็นนาอยู่รอบๆ  ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่นี้ว่า บือแน หรือ “บ้านบือแน” และเมื่อมีการเดินทางผ่านมาทางถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4063 ( สายยะลา- รามัน) จะเห็นท้องทุ่งนากว้างริมทาง ทำให้ชาวบ้านเรียกชุมชนนี้ว่า
บ้านบือแน มาจนถึงทุกวันนี้
ลักษณะที่ตั้ง
               บ้านบือแน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ในจำนวน หมู่บ้านของตำบลบุดี  อำเมือง  จังหวัดยะลา ซึ่งมีระยะทางห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 10  กิโลเมตร  ถ้าเดินทางสายทางลัด คือถนนสายชนบทถนน รพช. หมายเลข 3024 สายบ้านบุดี - นัดโต๊ะโมง ใช้เวลาเดินทางเข้าเมืองยะลาประมาณ กิโลเมตร  เป็นทางสะดวกของการเดินทางเพราะจะช่วยประหยัดทั้งพลังงานและประหยัดเวลาในการเข้าเมืองยะลา  ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่มีความสะดวกในการคมนาคมถนนสายนี้ 
อาณาเขต
                หมู่บ้านบือแนมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับบ้านนิบงหมู่ที่ ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้เคียงมีที่นาคั่นเป็นรอยต่อหมู่บ้าน และในด้านทิศใต้ก็มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ตำบลสะเตงนอก ซึ่งเป็นตำบลใกล้เคียงกัน ในทางด้านทิศตะวันออกก็มีอาณาเขตติต่อกับ ม.6บ้านบูเกะคละ ตำบลบุดี อ.เมือง จ.ยะลา และทางทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ ม.3 ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา ในที่นี้ก็จะเห็นได้ว่าคนในชุมชนมีอาณาเขตติดต่อกัน  มีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกันมากเพราะส่วนใหญ่ก็เป็นเครือญาติกันดั้งเดิม

การคมนาคม
มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกโดยสามารถเข้าได้ถึงสองทาง คือ ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4063 (สายยะลา รามัน) จะผ่านหมู่ที่ 7,3,5,4 6  และทางถนนชนบท มีทางแยกเข้าถนนสายชนบทถนน รพช. หมายเลข 3024 ผ่านหมู่ที่ 2,1 และ 8

ลักษณะทางกายภาพ

จากการศึกษาสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขา มีภูเขาทางด้านตะวันตกมีพื้นที่ติดกับหมู่ที่ 2 เป็นพื้นที่ลุ่มเหมาะแก่การปลูกข้าว และในทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่เชิงเขาเหมาะแก่การปลูกยางพาราและสวนผลไม้ ซึ่งชาวบ้านนิยมปลูกทุเรียน ลองกอง เงาะ และมังคุด  เป็นต้น  สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนในแต่ละปีได้พอสมควร
สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบ อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม โดยการทำสวนยางพาราทั้งเป็นของตัวเองและรับจ้างตัดยางของเพื่อนบ้านในละแวกเดียวกัน โดยการทำยางก้อนมีรายได้พอกินพอใช้ ประมาณวันละ500 - 1,000 บาท/วัน  และการทำสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน ลองกอง มังคุด เงาะ เป็นต้น ซึ่งถ้าไม้ผลมีราคาดีก็สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นกอบเป็นกำ และการปลูกพืชตามฤดูกาลหรือพืชอายุสั้น เช่น การปลูกแตงโม แตงไท แตงกวา ผักบุ้ง ผักกาด พริก เป็นต้น ไว้บริโภคในครัวเรือน เหลือกินก็สามารถนำไปขายในตลาดชุมชนได้  หรือไม่ก็นำไปแจกจ่ายกันในละแวกบ้านอาชีพต่อไปคืออาชีพรับจ้างโรงงานไม้ยาง โรงงานยาเส้น เพราะเป็นรายได้หลักมาเลี้ยงครอบครัว รายได้เฉลี่ยวันละ 300 บาท ต่อคน/วัน  ซึ่งคิดว่าถ้าไม่เลือกงานไม่ยากจนแน่นอนและอาชีพค้าขายเป็นอาชีพที่มีรายได้สูง ไม่ว่าจะเป็นการค้าขายยางและขี้ยาง ค้าขายรถมือสอง ขายอาหาร ขายของชำ เป็นต้นอาชีพสุดท้ายที่จะกล่าวถึงคือ อาชีพรับราชการ เพราะในอดีตชาวบ้านไม่นิยมให้ลูกเรียนหนังสือสายสามัญ ไม่สนับสนุนให้รับราชการ คนในชุมชนจึงมีอาชีพรับราชการน้อย ประมาณ 15 % ซึ่งคิดว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับชุมชนอื่นๆแต่ในที่นี้คนในชุมชนก็ยังมีรายได้พออยู่พอกิน 
สภาพสังคม
จากการศึกษาทำให้ได้ทราบว่าคนในชุมชนนี้ นับถือศาสนาอิสลามร้อยเปอร์เซ็นต์ภาษาที่พูดคือภาษามลายูถิ่นและภาษาไทยในการสื่อสารในชีวิตประจำวันการดำเนินชีวิตเป็นรูปแบบสังคมชนบทกึ่งเมือง คือนิยมอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเครือญาติ มีทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย  มีความผูกพันกันทางภาษา  ศาสนา  ประเพณี  และวัฒนธรรมโดยมีมัสยิดดารุลนาอีมเป็นที่ประกอบศาสนกิจของคนในชุมชนนี้ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายหลักหัวสะพานฆูเราะห์ถือเป็นความสะดวกของบุคคลภายนอกที่เดินทางผ่านมาจะแวะทำศาสนกิจ  ชุมชนแห่งนี้ยังมีประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น เช่นวันฮารีรายอ ประเพณีการกวนอาซูรอเป็นต้น   
 

ในชุมชนหมู่บ้านบือนาประชาชนมีชีวิตแบบเรียบง่าย บนเส้นทางเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักพระราชดำรัชของพระบาทสมเด็ขพระเจ้าอยู่หัว และในชุมชนบ้านบือแนอาจจะมีสถานการณ์ไม่สงบบ้าง เเต่ประชาชนทุกคนก็ไม่เคยเเตกเเยก มีความรักสามัคคีกันจึงทำให้คนในชุมชนอยู่อย่างร่มเย็นเป๊นสุข

               

1 ความคิดเห็น:

  1. ถึงฟาเดีย มะดีเย๊าะ
    ครูตรวจงานแล้วนะครับ ครั้งที่ ๑ คะแนน ๑๐ คะแนน ได้ ๖ คะแนนครับ
    ครูขอเป็นกำลังใจให้ในการปรับปรุงเรียงความให้สมบูรณ์นะครับ ดังนี้
    ๑. ปรับชื่อเรื่องให้น่าสนใจและน่าติดตาม
    ๒ เขียนคำขึ้นต้นให้น่าสนใจ
    ๓. เนื้อหาให้เป็นเอกภาพมากยิ่งขึ้นโดยการเชื่อมคำให้น่าสนใจ
    ๔. บอกแหล่งที่มาของข้อมูลในการเขียนเรียงความ เช่น เวบไซต์ที่ใช้ในการสืบค้น เป็นต้น

    ตอบลบ