วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


          เรียงความเรื่อง ครั้งที่  ๒   

เรื่อง มัสยิดกรือแซะแห่งตำนาน

                ตำนานมัสยิดกรือเซ๊ะ ที่ กรือเซะ-บานา ตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ หมู่ที่ ๒ ตำบลตันหยงลูโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีมัสยิดกรือเซะ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบอธิคมของชาวยุโรป และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง (คำว่า ปิตู แปลว่า ประตู กรือบัน แปลว่า ช่องประตูที่มีรูปโค้ง)  มัสยิดกรือเซะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง ๑๕.๑๐ เมตร ยาว ๒๙.๖๐ เมตร สูง ๖.๕๐ เมตร เสาทรงกลม เลียนรูปลักษณะแบบเสาอธิคมของยุโรป ช่องประตูหน้าต่างมีทั้งแบบโค้งแหลมและโค้งมนแบบอธิคม โดมและหลังคามีรูปทรงโค้งมน อิฐที่ใช้ก่อมีลักษณะเป็นอิฐสมัยอยุธยา ตรงฐานมัสยิดมีอิฐรูปแบบคล้ายอิฐสมัยทวารวดีปะปนอยู่บ้าง  เป็นเรื่องราวที่ได้สร้างความอัปยศให้กับสังคมมุสลิมนับตั้งแต่ได้มีประวัติศาสตร์อิสลามเกิดขึ้นมาในปัตตานี เริ่มจากรัชสมัยของพระยาอินทิรา แห่งราชวงศ์ RAJA WANGSA ซึ่งพระองค์เข้ายอมรับในศาสนาอิสลาม และมีพระนามว่า สุลต่าน อิสมาแอล ชาห์ซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้วมัสยิดกรือเซ๊ะ ไม่ได้ถูกสร้างโดยลิ้มโต๊ะเคียม เหมือนกับตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่ได้รับบอกเล่าต่อๆ กันมา 


                                         
               www.bloggang.com                                           www.annisaa.com  

                                                                                           
                      มีตำนานเล่าสืบต่อกันต่อ ๆ มาว่า ในยุคที่เมืองปัตตานีมีเจ้าผู้ครองเมืองเป็นนางพญา ชื่อ รายาบีรู (พ.ศ. ๒๑๕๑ - ๒๑๖๗) นั้น ได้มีชาวจีนชื่อ ลิ้มเต้าเคียน มาอยู่เมืองปัตตานี และเข้ารีตรับนับถือศาสนาอิสลาม แล้วไม่ยอมกลับเมืองจีน หลิมกอเหนี่ยวน้องสาวเดินทางมาตามพี่ชายให้กลับเมืองจีนเพื่อดูแลมารดาที่ ชราตามประเพณีของชาวจีน แต่ลิ้มเต้าเคียมไม่ยอมกลับเพราะได้รับมอบหมายจากเจ้าเมืองปัตตานีให้เป็น ผู้ควบคุมก่อสร้างมัสยิดกรือเซะอยู่ และยังสร้างไม่เสร็จจะขออยู่เมืองปัตตานีต่อไปจนกว่าจะสร้างเสร็จ หลิมกอเหนี่ยวมีความน้อยใจจึงทำอัตวินิบาตกรรมประท้วงพี่ชาย แต่ก่อที่นางจะผูกคอตายนางได้อธิษฐานว่าแม้นพี่ชายจะช่างที่เก่งเพียงใดก็ขอ ให้สร้างมัสยิดนี้ไม่สำเร็จ ด้วยแรงแห่งคำสาปแช่งของนาง  ปรากฏว่า ลิ้มเต้าเคียมสร้างไม่สำเร็จ ได้ทำการสร้างหลังคาและโดมถึงสามครั้ง เมื่อสร้างจวนเสร็จก็เกิดอัสนีบาตฟาดโดมและหลังคาพังทลายลงมาทุกครั้ง ทำให้ลิ้มเต้าเคียมเกิดความหวาดกลัว จึงได้ทิ้งงานก่อสร้างให้ค้างอยู่จนบัดนี้  ต่อมาในสมัยรายาบีรู (พ.ศ. ๒๑๕๙-๒๑๖๗) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง แต่กลับสร้างไม่สำเร็จ สร้างถึงยอดโดมคราวใดก็พังทลายลงมาทุกครั้ง ทั้งนี้เนื่องจากในสมัยนั้นช่างยังขาดความรู้ในการก่อสร้างหลังคารูปโดม การก่อสร้างจึงยังคงค้างคาและทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะในวาระแห่งปีเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครมีอายุครบ ๒๐๐ ปี และในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ กรมศิลปากรมีโครงการปรับปรุงบูรณะภายในให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ ส่วนภายนอกยังคงรักษาสภาพโบราณสถานเอาไว้เช่นเดิม


                                          
                  www.ranyapaktai.com                                       www.annisaa.com


                        มัสยิดกรือเซะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เป็นโบราณสถาน และในขณะเดียวกันก็เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของมุสลิม คำถามเกี่ยวกับสถานภาพของมัสยิดกรือเซะจึงมีขึ้นเป็นระยะๆ แต่นั่นไม่สำคัญเท่าความรู้สึกของชาวมุสลิมที่มีต่อนักท่องเที่ยวว่ากำลัง มองมัสยิดกรือเซะด้วยสายตาและความรู้สึกเช่นใด
                                         ***  คือวันที่ต้องจดจำไม่แปรผัน                                            
                   ร้อยหกศพจบลงเรียงรายกัน                  
มิมีวันประวัติศาสตร์จะลืมเลือน
"กรือเซะ" นี้คงจะเป็นเช่นตำนาน
ชนกล่าวขานความชั่วร้ายหาใดเหมือน
หลากปัญหาสารพันคอยย้ำเตือน
ความบิดเบือนหรือถูกต้องที่ทำไป
เสียงดัง "ปัง" กู่ก้องอยู่ในหู
สอนให้รู้สิ่งชั่วดีเป็นไฉน
ทุกสิ่งที่ก่อเกิดเหตุผลใด
คืออะไรบอกด้วยช่วยตอบที
อดีตแสนเจ็บปวดให้พ้นผ่าน
สิ่งวันวานจำใส่ใจอย่าหน่ายหนี
เพราะอย่างน้อยมันก็เป็นเช่นเวที
สร้างคนดีหรือคนชั่วตรึกไตร่ตรอง
*************************

มัสยิดกรือเซะจะอยู่คู่ชาวมุสลิมตลอดไป


เว็ปไซต์ที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูล
-          www.geocities.ws/prawat_patani/masjidkersik.htm
-          muslimchiangmai.net/index.
-          web.yru.ac.th/science/culture/index.php/มัสยิดกรือเซะ



      เด็กหญิงนัสรียา   เจ๊ะซู     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒/๒   เลขที่  ๑๔




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น