วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี สร้างคุณภาพที่ดีชีวิตให้ ให้หมู่บ้านของหนู

หมู่บ้านของหนูคือ หมู่บ้านบือแนต้น    มีครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 186 หลังคาเรือนโดยมีประชากรทั้งหมด ประมาณ 828คน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 ในจำนวน 8 หมู่บ้านของตำบลบุดี  อำเมือง  จังหวัดยะลา บ้านบ้านบือแนบือแนเป็นภาษามาลายูแปลว่า นา และในหมู่บ้านบือแนนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนากว้าง   เพราะตามประวัติความเป็นมาแล้ว คนแก่คนเฒ่าเล่าต่อกันมาว่า ในอดีตชาวบ้านจะประกอบอาชีพทำนา มีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับนาเป็นส่วนใหญ่ และในบริเวณหมู่บ้านจะมีพื้นที่เป็นนาอยู่รอบๆ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับหมู่บ้าน  และเมื่อมีการเดินทางผ่านมาทางถนนทางหลวงแผ่นดิน ( สายยะลา- รามัน) จะเห็นท้องทุ่งนากว้างริมทาง ทำให้ชาวบ้านเรียกชุมชนนี้ว่า  บ้านบือแน มาจนถึงทุกวันนี้
                สภาพภูมิประเทศในหมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขา ซึ่งเป็นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปลูกข้าว ในทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่เชิงเขาเหมาะแก่การปลูกยางพาราและสวนผลไม้ ซึ่งชาวบ้านนิยมปลูกทุเรียน ลองกอง เงาะ และมังคุด  เป็นต้น  สามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนในแต่ละปีได้พอสมควร
                ในหมู่บ้านของหนูมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ คลองฆูเราะห์  ซึ่งชาวบ้านในอดีตจะให้ความสำคัญแก่คลองฆูเราะห์เป็นอย่างมาก ชาวบ้านจะใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรและการทำนา  เป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว          แต่ในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านจึงมีการเปลี่ยนแปลงบ้างตามกระแสนิยม  สภาพแหล่งน้ำลดน้อยลง ชาวบ้านนิยมใช้น้ำบ่อและน้ำประปาภูเขาในการอุปโภคบริโภค  ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาวบ้าน เนื่องจากว่ายังไม่ครอบคลุมทุกควรเรือนทุกพื้นที่ยังขาดการบริหารจัดการที่ดี และชาวบ้านบางส่วนซื้อน้ำมาบริโภคเพราะถือความสะดวกในการดำเนินชีวิตในยุคนี้
                    ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบ อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม การทำสวนยางพาราทั้งเป็นของตัวเองและรับจ้างตัดยางของเพื่อนบ้านในละแวกเดียวกัน โดยการทำยางก้อนมีรายได้พอกินพอใช้ และการทำสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน ลองกอง มังคุด เงาะ เป็นต้น ซึ่งถ้าไม้ผลมีราคาดีก็สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นกอบเป็นกำ และการปลูกพืชตามฤดูกาลหรือพืชอายุสั้น เช่น การปลูกแตงโม แตงไท แตงกวา ผักบุ้ง ผักกาด พริก เป็นต้น ไว้บริโภคในครัวเรือน เหลือกินก็สามารถนำไปขายในตลาดชุมชนได้  หรือไม่ก็นำไปแจกจ่ายกันในละแวกบ้าน


ชาวบ้านนับถือศาสนาอิสลามร้อยเปอร์เซ็นต์ภาษาที่พูดคือภาษามลายูถิ่นและภาษาไทยในการสื่อสารในชีวิตประจำวันการดำเนินชีวิตเป็นรูปแบบสังคมชนบทกึ่งเมือง คือนิยมอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเครือญาติ มีทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย  มีความผูกพันกันทางภาษา  ศาสนา  ประเพณี  และวัฒนธรรมโดยมีมัสยิดดารุลนาอีมเป็นที่ประกอบศาสนกิจของคนในชุมชนนี้ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายหลักหัวสะพานฆูเราะห์ถือเป็นความสะดวกของบุคคลภายนอกที่เดินทางผ่านมาจะแวะทำศาสนกิจ  ชุมชนแห่งนี้ยังมีประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น เช่นวันฮารีรายอ ประเพณีการกวนอาซูรอเป็นต้น   
   


แหล่งที่มาของรูปภาพ: http://www.komchadluek.net/ (รู้มาเล่าไป : กำจัดแมลงศัตรูพืชในนาข้าว : โดย                                    
                                          ดลมนัสกาเจ)

                                          www.mthai.com
แหล่งที่มาของข้อมูล  : จากคุณพ่อ

1 ความคิดเห็น:

  1. ถึงฟาเดีย มะดีเย๊าะ
    ครูตรวจงานแล้วนะครับ ครั้งที่ ๒ คะแนน ๑๐ คะแนน ได้ ๘ คะแนนครับ
    ครูขอเป็นกำลังใจให้ในการปรับปรุงเรียงความให้สมบูรณ์นะครับ ดังนี้
    ๑. ชื่อเรื่องน่าจะกระชับกว่านี้และใช้คำให้มันน่าติดตามกว่านี้
    ๒ จัดข้อความให้น่าสนใจ
    ๓. การสรุปน่าจะมีคำคมสักหน่อย

    ตอบลบ